วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทำไม Conductor ถึงต้องโบกมือไปมา?


ผมเชื่อว่าหลายคนเมื่อได้เห็นการแสดงคอนเสิร์ตออเคสตร้า ไม่ว่าเป็นการแสดงสด ทางโทรทัศน์ หรือสื่อต่าง ๆ คงสงสัยว่า คนที่ยืนเด่น ๆ อยู่หน้าวงออเคสตร้า หรือที่เรารู้จักกันคือคอนดักเตอร์นั้น ทำไมเขาต้องยืนสะบัดโบกไม้โบกมือไปมาด้วย เราจะมาหาคำตอบกัน..

?? ทำไมต้องโบกมือไปมา ??

การที่คอนดักเตอร์ต้องโบกมือไปมานั้น มันเหมือนเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งคล้ายจราจร ซึ่งก็คือ การให้สัญญาณว่าเพลงนี้ความเร็วเท่านี้ ตรงไหนที่ต้องเล่นดัง ตรงไหนเล่นเบา แล้วแต่คอนดักเตอร์แต่ละคนจะตีความออกมา ซึ่งจะมีลีลาแตกต่างออกไป


บัณฑิต อึ้งรังษี
(คลิปจาก https://youtu.be/tXogv8t4eu0)



Seiji Ozawa
(คลิปจาก https://youtu.be/xim2jzFlGmc)

คราวนี้เราจะมาดูกันว่า สัญลักษณ์มือแต่ละข้างนั้นมีความหมายอย่างไรกันบ้าง?

ถ้าเอาตามปกติโดยทั่วไปแล้ว มือขวา คือการให้สัญญาณที่เกี่ยวกับจังหวะความเร็วของเพลงนั้น ๆ ว่าความเร็วประมาณเท่าไหน บางเพลงอาจมีความเร็วคงที่ทั้งเพลง บางเพลงก็ไม่คงที่ ช้า-เร็ว สลับกันไป ซึ่งคอนดักเตอร์จะใช้มือนี้คอยคุมจังหวะ และเพื่อป้องกันไม่ให้นักดนตรีที่มีมากมายนั้นเล่นหลุดจังหวะ ซึ่งถ้ามีนักดนตรีแค่คนเดียวเล่นหลุดจังหวะแล้ว วงก็อาจจะล่มได้

วิธีการโบก(เบื้องต้น)ของ มือขวา  นั้น จะมี 4 แบบ ซึ่งจะแบ่งเป็น 

1.) 2/2, 2/4 หมายถึง โน้ตใน 1 ห้อง มี 2 จังหวะ ใช้วิธีโบก ดังนี้

2.) 3/4, 3/8 หมายถึง โน้ต 1 ห้อง มี 3 จังหวะ ใช้วิธีโบก ดังนี้


3.) 4/4 หมายถึง โน้ต 1 ห้อง มี 4 จังหวะ ใช้วิธีโบก ดังนี้

4.) 6/8 หมายถึง โน้ต 1 ห้อง มี 6 จังหวะ ใช้วิธีโบก ดังนี้

(ภาพทั้งหมดจาก Wikipedia, อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับจังหวะเพิ่มเติม click)


ส่วน มือซ้าย คือการให้สัญญาณระดับความดัง-เบา ว่าต้องการระดับไหน ซึ่งสิ่งนี้แล้วแต่คอนดักเตอร์แต่ละคนจะตีความเพลงออกมา หรือจะเป็นการให้สัญญาณคิวกับนักดนตรีว่า จะต้องเล่นแล้วนะ เพื่อป้องกันความผิดพลาดของนักดนตรีที่อาจเกิดขึ้นได้

ทั้งหมดนี้คือพื้นฐานการโบกมือไปมาของคอนดักเตอร์ที่ทุกคนต้องรู้ พอเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว คอนดักเตอร์ก็จะปรับเปลี่ยนวิธีการโบกมือตามสไตล์ตัวเอง

แล้วคอนดักเตอร์มีความจำเป็นขนาดไหน? 

บอกเลยว่ามีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะวงออเคสตร้าใหญ่ ๆ ที่มีนักดนตรีเยอะ ๆ เป็นร้อยคน ถ้าไม่มีคอนดักเตอร์นี่ เพลงก็อาจจะออกมาโดยไม่มีเสน่ห์ ราบเรียบ แย่ที่สุดก็อาจจะเละเทะไปเลยก็ได้ พอบอกอย่างนี้ไปแล้ว หลายคนก็อาจสงสัยอีกว่า ในโน้ตดนตรีมันก็บอกอยุ่แล้วนี่ ทำไมมันถึงเละล่ะ มันก็เพราะว่า นักดนตรีแต่ละคนนั้นอาจตีความไม่เหมือนกัน โน้ตดนตรีมันเหมือนเป็นเพียงแค่ตัวอักษรเปล่า ๆ ที่ต้องการการตีความออกมา ถ้าให้นักดนตรีแต่ละคนมาตีความเพลงเอง ทั้งวงคงบรรเลงออกมาได้แบบไร้ทิศทาง ไร้ความรู้สึก ถ้าจะให้เปรียบง่าย ๆ กับภาพยนตร์ โน้ตดนตรีก็เหมือนบทภาพยนตร์ ที่ต้องการตีความโดยผู้กำกับและผู้กำกับก็ต้องวางแผน กำหนดทิศทาง อารมณ์ของภาพยนตร์ สมมติถ้าไม่มีผู้กำกับ แล้วให้นักแสดงตีความเอง ลองคิดดูว่าเรื่องออกมาจะเป็นอย่างไร ซึ่งไม่ต่างจากดนตรีมากนักที่คอนดักเตอร์มีความจำเป็นขนาดไหน

สรุป 

การที่คอนดักเตอร์ต้องโบกมือไปมานั้น เพื่อคอยควบคุมนักดนตรีให้บรรเลงดนตรีออกมาได้อย่างไพรเราะ มีอารมณ์ มีความรู้สึก ตามสไตล์คอนดักเตอร์แต่ละคนจะตีความออกมา 






สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ทำไม Conductor ถึงต้องโบกมือไปมา? โดย PittKM อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนะนำตัวผู้เขียน



ชื่อ: พิทยา คุ้มฉายา [ เนม ]

อายุ: 20 ปี เกิด: 28 Jan 1995

การศึกษา
- โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี [ มัธยม ]
- วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล    [ 2556 ]
- วิทยาลัยภาพยนตร์และการละคร สาขา การเขียนบทและการกำกับ ภาพยนตร์และโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต [ 2557-ปัจจุบัน ]


อาชีพ
- นักศึกษา
- นักดนตรี [ Violin , Piano ]
- ครูสอนดนตรี  [ Violin ]

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การโพสต์วิดีโอ และการใช้ creative commons

คุยหนัง เรื่อง

Battle Royale (2000 , Japan , Kinji Fukasaku)
In the future, the Japanese government captures a class of ninth-grade students and forces them to kill each other under the revolutionary "Battle Royale" act. read more



สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
คุยหนัง โดย พิทยา อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.